prafang

ติดต่อเรา

กรมอุตุฯ เลื่อนประกาศเข้าสู่ฤดูหนาว ไทยเจอฝนถึง 11 พ.ย. 64

กรมอุตุฯ เลื่อนประกาศเข้าสู่ฤดูหนาว ไทยเจอฝนถึง 11 พ.ย. 64

กรมอุตุฯ เลื่อนประกาศเข้าสู่ฤดูหนาว ไทยเจอฝนถึง 11 พ.ย. 64 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามัน  ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย00:00 น. วันนี้ ถึง 00:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย และตาก
อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-15 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีหมอกในตอนเช้า กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ 
ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. 
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง 
บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ 
อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส 
ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ขณะที่ พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 2- 11 พฤศจิกายน 2566 อัพเดทจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

วันที่ 2 พ.ย.66 มวลอากาศเย็น ยังที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้ลมหนาวที่พัดปกคลุมอ่อนกำลังลงด้วย บริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนลดลง แต่ยังมีฝนเล็กน้อยได้บางแห่ง บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก อากาศเริ่มเย็นลง ยังไม่ถึงกับหนาว มีเพียงยอดภู ยอดดอยพอได้สัมผัส อากาศหนาวเย็น การเริ่มต้นฤดูหนาวปีนี้ยังไม่ครบเงื่อนไข “อาจจะต้องเลื่อนไป”

ส่วนภาคใต้ยังมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ช่วง 3 -11 พ.ย.66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปกคลุม จะเริ่มอ่อนลงไปบางช่วง สลับกับบางวันยังมีมวลอากาศเย็น แผ่เสริมลงมาปคลุมเป็นระลอก แต่กำลังไม่แรง อากาศยังเปลี่ยนแปลง ฝนยังไม่ขาดเม็ด อาจเกิดขึ้นได้ช่วงแรกที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมา ส่วนใหญ่เป็นฝนเล็กน้อย

เช่นช่วง 6-7 พ.ย.66 อากาศยังเย็นลงไม่มาก ความชื้นสูง และยังมีลมตะวันออกพัดเข้ามาแทรกบางช่วง พี่น้องเกษตรกรที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องเฝ้าระวัง เช้าถึงบ่ายแดดดี เย็นๆ อาจมีเมฆมาก ฝนเล็กน้อย ส่วนภาคใต้ยังมีฝนได้ต่อเนื่องหนักเบาสลับกันไป

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *