หลักการกินอาหาร เพื่อสุขภาพ ที่ควรรู้ ?
หลักการกินอาหาร เพื่อสุขภาพ ที่ควรรู้ ? การกินอาหารในแต่ละวัน ก็เพื่อให้ร่างกายมีพลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แต่คนส่วนมากมักจะคำนึงถึงเรื่องความอร่อยมากกว่าพลังงานที่ร่างกายควรได้รับ จึงส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ ตามมามากมาย
หลักการกินอาหาร เพื่อสุขภาพ ที่ควรรู้ ?
การเกิดโรคต่างๆในร่างกายของเรา สิ่งที่เรามองข้ามหรือเป็นสาเหตุในการเกิดโรคจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากการกินอาหารของเรานั้นเองค่ะ สาเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้นเป็นพฤติกรรมที่ทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่สาเหตุที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้คือ เพศ กรรมพันธุ์ และอายุที่มากขึ้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
1.อาหารกับระดับน้ำตาลในเลือด
การคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้มากมาย เพราะการที่รักษาระดับน้ำตาลในเกณฑ์ปกติ จะช่วยป้องกันการอักเสบภายในร่างกาย ช่วยรักษาความยืดหยุ่นของหลอดเลือดให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้นและช่วยควบคุมน้ำหนักได้ ทั้งนี้ หากเรารับประทานอาหารที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายก็จะหลั่งอินซูลินออกมาเพื่อนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงไปมากจนกระทั่งรู้สึกหิวขึ้นมาอีกครั้งก่อนจะถึงมื้ออาหารถัดไป ทำให้เกิดพฤติกรรมกินจุบจิบเพราะหิวบ่อย ต้องหาอะไรกินตลอดเวลา ซึ่งการกินลักษณะนี้จะส่งผลให้มีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน
การเลือกชนิดของคาร์โบไฮเดรต นอกจากจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย จึงควรเลือกกินอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำหรือปานกลาง เช่น ข้าวไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งมีใยอาหารเป็นองค์ประกอบ ทำให้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดช้ากว่าคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมได้ง่ายหรือมีดัชนีน้ำตาลสูง ส่งผลดีต่อร่างกายในการรักษาระดับน้ำตาลไว้ได้นาน ทำให้ไม่หิวเร็ว ไม่ต้องหาอะไรกินระหว่างมื้อ ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยรักษาระดับน้ำหนักไว้ได้
อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง สังเกตง่ายๆ โดยใช้ความรู้สึกเป็นเกณฑ์ อาหารประเภทใดที่เคี้ยวง่าย และให้ความรู้สึกหวานเร็ว แปลว่ามีค่าดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว แตงโม น้ำตาลทุกชนิด เป็นต้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว และกินข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ (เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ) และหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น แตงโม ลำไย มะขาม ทุเรียน เป็นต้น

2.อาหารต้านการอักเสบ
ผัก ผลไม้ และธัญพืช สามารถกินได้เป็นจำนวนมาก เพราะอุดมไปด้วยกากใย วิตามิน และแร่ธาตุที่มีประโยชน์มากมาย นอกจากนี้ควรใช้น้ำมันมะกอกหรือสามารถใช้น้ำมันรำข้าวแทนได้เพื่อให้เหมาะกับการปรุงอาหารไทยที่ต้องผ่านความร้อน เพราะน้ำมันกลุ่มนี้เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 9 ซึ่งช่วยลดไขมันไม่ดี และมีส่วนช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น
3.กลุ่มเนื้อสัตว์
ควรกินเนื้อไก่ เนื้อปลา และอาหารทะเล โดยเฉพาะอาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาจะละเม็ดขาว ปลาสำลี ปลากะพงขาว ปลาทู ปลาดุก ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาตะเพียน โดยในกลุ่มปลาควรรับประทานอย่างน้อย 2-3 วันต่อสัปดาห์ รวมทั้งเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ร่วมด้วยเพราะเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง มีส่วนช่วยในการลดไขมันที่ไม่ดีในเลือดได้ และหลีกเลี่ยงการกินเนื้อแดงที่ผ่านการแปรรูปต่างๆ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูยอ แหนม
4.ไขมัน
หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัว เพราะจะเพิ่มไขมันไม่ดี (LDL-cholesterol) และไขมันทรานส์ ยังไปลดไขมันดี (HDL-cholesterol) อีกด้วย ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดเกิดการเสียหาย จึงควรเลือกกินไขมันที่ดีอย่างน้ำมันมะกอก และน้ำมันรำข้าว นอกจากนี้เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ร่วมด้วยประมาณ 30 กรัมหรือ 1 อุ้งมือ เพราะมีกรดไขมันที่ดี ช่วยลดไขมันในเลือดได้ เช่น ถั่วลิสง แมคคาเดเมีย อัลมอนด์ พิสตาชิโอ แต่อย่างไรก็ตามอาหารในกลุ่มไขมันควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพราะถ้ารับประทานมากเกินไปก็จะทำให้ได้รับพลังงานเกินจากที่ร่างกายต้องการ
5.ลดโซเดียม
จะช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในสมดุล ลดภาระหัวใจไม่ให้ทำงานหนักมากเกินไป และชะลอไตเสื่อม ซึ่งเราสามารถลดโซเดียมได้โดย
• หลีกเลี่ยงการกินอาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป เช่น อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็งที่เข้าไมโครเวฟสามารถนำมารับประทานได้ทันที
• หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม
• ลดการปรุงหรือการจิ้มด้วยเครื่องปรุงที่มีรสเค็มเพิ่มเติมเมื่ออาหารได้ผ่านการปรุงมาแล้ว
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ข้าวคลุกกะปิ อาหารจานด่วนแบบตะวันตก เป็นต้น
หลักการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี
• เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น อาหารที่มีโอเมก้า 3 เช่น แซลมอน ปลาทู ปลาจะละเม็ด ผลิตภัณฑ์จากเต้าหู้ ถั่วเปลือกแข็ง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ นมจืดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย และธัญพืชต่างๆ
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ เพราะเป็นต้นกำเนิดไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย
• กินผักและผลไม้เป็นประจำ
• หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
• ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
• ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
• ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เพียงแค่เราได้รู้ว่า อาหารที่เรากินเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวัน นั่นมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากน้อยแค่ไหน เราก็จะสามารถรู้ได้เลยว่า อาหารแต่ละชนิด มีผลเสียต่อร่างกายของเรา และเลือกที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเรานั่นเองค่ะ
9 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ ครั้งแรก! การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอาจเป็นประสบการณ์ที่คุณพบเจอกับความรู้สึกหลากหลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะความตื่นเต้นและความกังวล การเตรียมตัวที่ดีก่อนการมีเพศสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ และทำให้การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำมากขึ้นด้วย
5 ข้อดีของการมีเซ็กส์ ช่วยให้มีสุขภาพที่ดี คู่รักหลายคู่ เซ็กส์ ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แนบแน่นยิ่งขึ้น แต่ทราบกันหรือไม่ว่า กิจกรรมบนเตียงสุดแซ่บนี้ไม่ได้มีผลดี กับแค่ความสัมพันธ์ระหว่างคนรักเท่านั้น แต่ยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย การมีเซ็กส์ช่วยให้มีสุขภาพดี ทำให้เรารู้สึกสดชื่นมากขึ้น