ปกBodyslam

Bodyslam ‘เป็นวัยรุ่นจนวันสุดท้ายของชีวิต’

Bodyslam ‘เป็นวัยรุ่นจนวันสุดท้ายของชีวิต’

Bodyslam | ‘เป็นวัยรุ่นจนวันสุดท้ายของชีวิต’ คือความฝันสูงสุดของวงดนตรีที่ไม่เคยมีวันไหนไม่ทุ่มสุดตัว Bodyslam ไม่ใช่คนแปลกหน้าของ a day BULLETIN ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เราพบเจอและพูดคุยกับพวกเขามาหลายครั้ง แต่ละครั้งก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จากคนหนุ่มทั้งห้านี้ได้เสมอ ราวกับว่าเราต่างก็กำลังเติบโตและเปลี่ยนผ่านช่วงวัยไปพร้อมๆ กัน

จากจุดเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยอุปสรรค วงร็อกก่อร่างสร้างขึ้นด้วยพลังใจยิ่งใหญ่อย่างน่าเหลือเชื่อ และเรี่ยวแรงของสองมือสองเท้าว่างเปล่าที่ปีนป่ายและย่างก้าวตามความฝัน พาชีวิตไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่วาดหวัง ครั้งหนึ่ง พวกเขาบอกกับตัวเองและคนรอบข้างว่า ‘ชีวิตเป็นของเรา’ สร้างพลังขับดันที่รุนแรงด้วยเสียงดนตรีที่เดือดดาล เอาทั้งชีวิตวางเป็นเดิมพัน แสดงออกอย่างสุดกำลังเพื่อเป้าหมายว่า ‘สักวันฉันจะดีพอ’

แน่นอนว่าบนหนทางนี้ยาวไกลและกินระยะเวลายาวนาน แม้ไม่โดดเด่นจนโด่งดังแบบชั่วข้ามคืน แต่ด้วยความชัดเจนในแนวดนตรีและประเด็นเนื้อหาที่เสียดแทงหัวใจคนหนุ่มสาวร่วมวัย ทำให้พวกเขาค่อยๆ สั่งสมเพื่อนร่วมทางเพิ่มขึ้นๆ จนครั้งหนึ่งผู้คนที่มีความเชื่อและศรัทธาเดียวกัน มารวมตัวกันตามนัดหมายกว่า 65,000 ชีวิต เพื่อชื่นชมและสร้างประวัติศาสตร์ไปร่วมกับวงดนตรีที่เล่นอย่าง ‘ทุ่มสุดตัว’

บอดี้สแลม (Bodyslam) เป็นวงดนตรีร็อกสัญชาติไทย และได้รับความนิยมในประเทศไทย สมาชิกวงที่เป็นที่รู้จักกันดีจากวงนี้คือนักร้องนำของวง อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) โดยเพลงส่วนใหญ่ได้อิทธิพลมาจากดนตรีร็อกจากฝั่งสหรัฐอเมริกาในยุคต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ผสมผสานกับดนตรีแนวโปรเกรสซีฟร็อก วง Bodyslam มีผลงานทั้งหมด 6 อัลบั้ม โดยจะมีอัลบั้มอะไรบ้างเรามาดูกันเลย

สมาชิกปัจจุบันของวง



Bodyslam

ตูน

อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน) – ร้องนำ, กีตาร์ (พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน)

ปื๊ด

ธนดล ช้างเสวก (ปิ๊ด) – กีตาร์เบส, ร้องประสาน (พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน)

ยอด

ธนชัย ตันตระกูล (ยอด) – กีตาร์นำ (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน)

ชัช

สุชัฒติ จั่นอี๊ด (ชัช) – กลอง (พ.ศ. 2546–ปัจจุบัน) (แบ็กอัป : พ.ศ. 2545–2546)

โอม

โอม เปล่งขำ (โอม) – คีย์บอร์ด, ร้องประสาน (พ.ศ. 2553–ปัจจุบัน) (แบ็กอัป : พ.ศ. 2550–2553)

ประวัติและที่มาของแต่ละอัลบั้ม

บอดี้สแลมเดิมเรียกว่า ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2539 วงได้ชนะการประกวดวงดนตรี Hot Wave Music Award และได้ออกจำหน่ายอัลบั้มกับค่ายมิวสิก บั๊กส์ ในชื่อ ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2540 ด้วยแนวเพลงป็อปร็อก เพลงหนึ่งในอัลบั้ม “ได้หรือเปล่า” เป็นเพลงที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดของวง ต่อมาได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง เทพนิยายนายเสนาะ ในปี พ.ศ. 2541 แต่หลังจากนั้นวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ

อัลบั้ม บอดี้สแลม และ ไดรฟ์ (2545–2547)
อัลบั้ม บอดี้สแลม และ ไดรฟ์

วงกลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 ด้วยชื่อใหม่ บอดี้สแลม และมีเปลี่ยนแนวเพลงไปเป็นร็อกที่หนักหน่วงมากขึ้น ด้วยสมาชิกเพียงสามคนที่เหลืออยู่ ได้แก่ นักร้องนำ อาทิวราห์ คงมาลัย มือเบส ธนดล ช้างเสวก และมือกีตาร์ รัฐพล พรรณเชษฐ์ วงอธิบายว่า ที่มาของชื่อนี้มาจากชื่อท่าหนึ่งของมวยปล้ำ แต่ถ้าแปลความหมายตรงตัว บอดี้ แปลว่าร่างกาย สแลม คือการทุ่ม เมื่อมารวมกันเป็น บอดี้สแลม ก็จะหมายถึง การทุ่มสุดตัว คือการทำงานเพลงกันเต็มที่แบบทุ่มสุดตัว ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรกของวงที่มีชื่อเดียวกันกับชื่อวงใหม่และได้ประสบความสำเร็จ ต่อมาได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดที่สอง Drive ในปี พ.ศ. 2546 เป็นอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จเท่ากันกับอัลบั้มชุดแรก บอดี้สแลมได้ชนะรางวัลมิวสิกวิดีโอในสาขา “กลุ่มศิลปินที่เป็นที่ชื่นชอบ” ในมิวสิกวิดีโอของเพลง “ปลายทาง” ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ต HOTWAVE LIVE: BODYSLAM MAXIMUM LIVE จัด ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตที่ทางคลื่นร้อน 91.5 Hot Wave จัดให้โดยเป็นคอนเสิร์ตครั้งแรกของทั้ง 3 หนุ่ม ตูน-อาทิวราห์ คงมาลัย, ปิ๊ด-ธนดล ช้างเสวก, เภา-รัฐพล พรรณเชษฐ โดยมีศิลปินรับเชิญคือ ปู แบล็คเฮด, อ๊อฟ บิ๊กแอส, ป๊อด โมเดิร์นด็อก

อัลบั้ม บีลีฟ (2548–2549)
อัลบั้ม บีลีฟ

หลังจากอัลบั้มที่สอง บอดี้สแลมได้มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย วงได้ออกจากค่ายมิวสิก บั๊กส์และได้เซ็นสัญญากับจีนี่เรคคอร์ดส ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ค่ายเพลงใหญ่ของประเทศไทย ต่อมามือกีตาร์ของวง เภา รัฐพล พรรณเชษฐ์ ได้ออกจากวงบอดี้สแลม และออกอัลบั้มเดี่ยวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ในอัลบั้มชื่อ Present Perfect สังกัดค่ายสนามหลวง ทำให้บอดี้สแลมเหลือสมาชิกวงอยู่ 4 คน และได้คว้าตัวมือกีตาร์คนใหม่ คือ ยอด ธนชัย ตันตระกูล และออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่สามของวง Believe ในปี พ.ศ. 2548 ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ตวันคุ้มครองโลก ในชื่อ Bodyslam Believe Concert ที่ Thunder Dome เมืองทองธานี โดยมีแขกรับเชิญ 2 คน คือ บอย – อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี (บอย PEACEMAKER) และ เภา – รัฐพล พรรณเชษฐ์ อดีตมือกีตาร์ของวง ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ได้ออกคอนเสิร์ต BIG BODY ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี โดยจัดร่วมกับวงบิ๊กแอส และได้แสดงร่วมกับวงบิ๊กแอสอีกครั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2549 ในคอนเสิร์ต M-150 สุดชีวิตคนไทย ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี และยังได้แสดงร่วมกับ โปเตโต้, เสก โลโซ, ลานนา คัมมินส์, และ ไมค์ ภิรมย์พร

อัลบั้ม เซฟมายไลฟ์ (2550–2551)

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มชุดที่สี่ เซฟมายไลฟ์ (Save My life) และได้ออกคอนเสิร์ตใหญ่ในกรุงเทพในต้นเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ในวันที่ 20-21 ตุลาคม พ.ศ. 2550 บอดี้สแลมได้ออกคอนเสิร์ต BODYSLAM SAVE MY LIFE CONCERT ที่อินดอร์ สเตเดี้ยม หัวหมาก โดยมีแขกรับเชิญ ได้แก่ โก้ Mr.Saxman ในเพลง “นาฬิกาตาย”, ปู พงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ในเพลง “ความเชื่อ”, “แม่” และ ปนัดดา เรืองวุฒิ ในเพลง “แค่หลับตา”, แอ๊ด คาราบาว ในเพลง “ความเชื่อ”, “รักต้องสู้” และทีมเชียร์ลีดเดอร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต ในเพลง “ท่านผู้ชม”

ความสำเร็จจากอัลบั้มใหม่ทำให้วงมีแฟนคลับขนาดใหญ่ขึ้น และกลายเป็นหนึ่งในวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย อัลบั้มเซฟมายไลฟ์ ได้ชนะในสีสันอะวอร์ด ครั้งที่ 20 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 สาขาศิลปินกลุ่มร็อกยอดเยี่ยม อัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และเพลงร็อกยอดเยี่ยม สำหรับเพลง “ยาพิษ” และได้ออกคอนเสิร์ตในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ในชื่อคอนเสิร์ต EVERY BODYSLAM CONCERT ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ฟักแฟง โน มอร์ เทียร์-ไปรยา มลาศรี ในเพลง “แค่หลับตา” และบุดด้าเบลส

อัลบั้ม คราม (2552–2555)

ซิงเกิล “คราม” ออกในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 พร้อมกับสตูดิโออัลบั้มชุดที่ห้าของวง คราม ออกจำหน่ายในกลางปี พ.ศ. 2553 (หลังจากเลื่อนไปเป็นมิถุนายน พ.ศ. 2553 จากการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553) วงได้ออกแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ที่เรียกว่า บอดี้สแลมไลฟ์อินคราม ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ด้วยผู้ชมมากกว่า 65,000 คน โดยมีศิลปินรับเชิญ ได้แก่ ศิริพร อำไพพงษ์ ในเพลง “คิดฮอด” อุ๋ย บุดด้าเบลส และฟักกลิ้ง ฮีโร่ ในเพลง “Sticker” และวงบิ๊กแอส และได้สำเร็จทัวร์ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554 ด้วยคอนเสิร์ต บอดี้สแลมไลฟ์อินลาว : เวิลด์ทัวร์ ที่สนามกีฬาแห่งชาติลาว และในปี พ.ศ. 2555 ได้จัดคอนเสิร์ตบอดี้สแลมนั่งเล่น ที่ IMPACT EXHIBITION HALL 1 ในวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์

อัลบั้ม ดัม-มะ-ชา-ติ (2556–ปัจจุบัน)

สตูดิโออัลบั้มชุดที่หกของวง ดัม-มะ-ชา-ติ (dharmajāti) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง “ธรรมชาติ” ออกจำหน่ายในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 และมีกำหนดการออกคอนเสิร์ตบอดี้สแลม ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ โดยเป็นการทัวร์คอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้งแรกของวง เพื่อสนับสนุนอัลบั้ม ดัม-มะ-ชา-ติ โดยเริ่มแสดงตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557 – 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 และเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ยุทธนา บุญอ้อม ได้ประกาศยกเลิกทัวร์ bodyslam ปรากฏการณ์ ดัม-มะ-ชา-ติ ที่เหลือทั้งหมด โดยจัดที่จังหวัดนครราชสีมาเป็นจังหวัดสุดท้าย เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่พอใจของแฟนเพลงในกรณีการประกาศลดราคาค่าตั๋วเข้าชมร่วมกับสปอนเซอร์ จากเดิม 1,500 บาท เหลือ 399 บาท 

ในปี 2558 วงบอดี้แสลมจัดคอนเสิร์ต 100 พลัส PRESENTS คอนเสิร์ตบอดี้สแลมสิบสาม เพื่อครบรอบ 13 ปีของทางวง ที่ริมทะเลสาบ เมืองทองธานี 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เริ่มจำหน่าบบัตร 30 เมษายน

ใครที่ชอบฟังเพลง ชอบร้องเพลงสามารถติดตามได้ที่ : เพลงคาราโอเกะ ที่ฮิตตลอดกาล

ติดตามบทความอื่นๆ สำหรับคนรักสัตว์ : เรื่องของแมว

Prafang